การพัฒนาองค์กรคุณภาพ ด้วยรูปแบบ APNIEER MODEL

INPUT :
ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียม รวมถึงการสร้างสังคมที่มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่กล่าวถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) ที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีในอนาคต โดยมีการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเสริมสร้างกําลังคนที่มีคุณภาพและมีทักษะในการแข่งขันในระดับสากล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายจุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2568 -2569 นโยบายของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
PROCESS :
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ขับเคลื่อนด้วยรูปแบบ APNIEER MODEL ภายใต้กรอบ PDCA ดังนี้
A : วิเคราะห์บริบท (Context Analysis) : โดยการทําความเข้าใจสถานการณ์การจัดการศึกษาของปัจจุบัน ภายใต้บริบทที่เกิดขึ้นและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาของ สพป.น่าน เขต 2
P : วางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) โดยการกําหนดเป้าหมายและแนวทางที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น โดยต้องมีกาวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาด้านต่างๆ ที่มีอยู่และเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุด
N : สร้างเครือข่าย (Networking) : การสร้างความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงกับบุคคลหรือองค์กรที่สามารถช่วยสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษาได้ ซึ่งจะช่วยให้มีทรัพยากรและความร่วมมือที่สามารถพัฒนาต่อไปได้
I : ลงมือปฏิบัติ (Implementation) : การดําเนินการตามแผนที่วางไว้ในขั้นตอนการวางแผน โดยต้องทําอย่างมีระบบ มีการจัดการที่ดี และตรวจสอบผลการดําเนินงานในแต่ละขั้นตอน
E : ประเมินผล (Evaluation) : การติดตามและประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ รวมถึงการหาจุดที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนา
E : สรุปและขยายผล (Reflection) : การทบทวนประสบการณ์ที่ได้รับจากการดําเนินการทั้งหมดพร้อมทั้งการวางแผนเพื่อขยายผลในอนาคต โดยอาจจะเป็นการปรับกลยุทธ์หรือสร้างแนวทางใหม่เพื่อการพัฒนาในระยะยาว
R : ยกย่องและเสริมแรง (Recognition and Motivation) : การให้การยอมรับและรางวัลสําหรับความสําเร็จ หรือความพยายามที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจและการร่วมมือจากทุกคนที่เกี่ยวข้อง
OUTPUT :
G1 : Good Educational Service Area Office (สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาดี) – มุ่งจัดการศึกษาให้มีความเป็นเลิศ ภายใต้บริบทที่มีความแตกต่าง ความถนัดของผู้เรียน โดยน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
G2 : Good Governance (บริหารจัดการดี) – ผู้บริหารมีการนําหลักธรรมาภิบาล มาบริหารจัดการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแบบมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วน
G3 : Good School (โรงเรียนดี) – สถานศึกษาจะต้องมีความเอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียน ส่งเสริมความเป็นเลิศสําหรับผู้มีความสามารถพิเศษ และ Soft Power ภายใต้เรียนดี มีความสุข
G4 : Good Government Teachers and Education Personnel (ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดี) – ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะต้องความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการที่ดี มีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยนําเทคโนโลยีดิจิทัล (AI) มาเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาระในการปฏิบัติงาน และทํางานอย่างมีความสุข
G5 : Good Student (นักเรียนดี) – ผู้เรียนจะต้องเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ มีทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิต เข้าถึงระบบการศึกษา ตามนโยบายรัฐบาล Thailand Zero Drtopout และสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
OUTCOME :
1) ผู้เรียน จะต้องได้รับการพัฒนารอบด้านและสมบูรณ์แบบ ทั้งในด้านการเรียนรู้และความเป็นมนุษย์ที่มีความสุขในชีวิต
2) องค์กร สร้าง คนดีและมีความสุข จะมีความสามารถในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการมีวัฒนธรรมที่ดี, การสนับสนุนการพัฒนาตนเอง และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมุ่งเน้นการสร้างสมดุล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดทั้งในด้านการพัฒนาและความสุขในระยะยาว